วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สำนักวิจัย ซีไอเอ็มบี ไทย : รายงานสรุปและวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินราย วัน 23/11/55


สหรัฐอเมริกา
 ตลาดหุ้น, ตลาดการเงิน และหน่วยงานราชการสหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวันขอบคุณ
พระเจ้า

ยุโรป: สหภาพยุโรป
 องค์การความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาส 3 ของประเทศสมาชิก OECD ขยายตัวเพียง 0.2% ซึ่งไม่
เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสที่ 2 และสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
กลุ่ม OECD ยังคงมีความแตกต่างกันมาก ทั้งนี้ จีดีพีของประเทศในสหภาพยุโรป (อียู) ขยายตัว 
0.1% ในไตรมาส 3 แม้ว่าอียูเผชิญกับอุปสรรคทางเศรษฐกิจก็ตาม แต่จีดีพีไตรมาส 3 ยัง
สามารถขยายตัวได้เพราะได้แรงหนุนจากจีดีพีของฝรั่งเศสที่ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด 0.2%
 OECD ระบุว่าจีดีพีของเยอรมนีซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่สุดในยุโรป กลับชะลอตัวลง
มาอยู่ที่ระดับ 0.2% และจีดีพีของอิตาลีหดตัวลง 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ที่หดตัวลง 
0.7% อย่างไรก็ตาม จีดีพีของอังกฤษขยายตัว 1% เพราะได้แรงหนุนจากการเป็นเจ้าภาพจัด
กีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกกรุงลอนดอน หลังจากที่จีดีพีของอังกฤษหดตัวลงในไตรมาส 2 ขณะ
ที่จีดีพีของสหรัฐขยายตัวเพียง 0.5% และเศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 0.9%

เยอรมนี
 นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคลของเยอรมนี กล่าวว่ามีแนวโน้มที่จะมีการบรรลุ
ข้อตกลงในการประชุมรัฐมนตรีคลังยุโรปในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะปูทางสำหรับการเบิกจ่ายเงิน
ช่วยเหลืองวดต่อไปสำหรับกรีซ โดยนางแมร์เคลกล่าวกับสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนีในระหว่างการ
อภิปรายงบประมาณ โดยระบุว่าต้องมีการดำเนินมาตรการอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อแก้ไขปัญหา
ต่างๆของกรีซและยูโรโซนโดยรวม

ฝรั่งเศส
 Markit รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นของฝรั่งเศส ซึ่งรวมทั้งภาค
การผลิตและภาคบริการ ในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 44.6 จากระดับ 43.5 ในเดือน
กันยายน แต่กิจกรรมภาคธุรกิจยังคงอยู่ในภาวะหดตัวเนื่องจากดัชนียังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50

สเปน
 นายลูอิส มาเรีย ลินเด ผู้ว่าการธนาคารกลางสเปน คาดว่า เศรษฐกิจสเปนจะเริ่มฟื้น
ตัวขึ้นในปี 2556 หากรัฐบาลยังคงเดินหน้าใช้มาตรการต่างๆ เช่น การลดยอดขาดดุลงบ
ประมาณตามเป้าหมาย ซึ่งความเชื่อมั่นของชาวต่างชาติขึ้นอยู่กับการเดินหน้าใช้มาตรการเหล่า
นี้ และสเปนจำเป็นต้องลดยอดขาดดุลงบประมาณตามเป้าหมายที่สหภาพยุโรป (อียู) กำหนดไว้ที่ 
6.3% ของผลผลิตทางเศรษฐกิจในปี 2555

กรีซ
 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่าการปรับลดมูลค่าหนี้ให้กรีซโดย
บรรดาเจ้าหนี้ในภาคทางการจะเป็นทางเลือกที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ แต่รัฐบาลเยอรมนีคัด
ค้านอย่างรุนแรงต่อข้อเสนอดังกล่าว ทั้งนี้ กรีซได้พึ่งพาความช่วยเหลือทางการเงินจากต่าง
ประเทศเพื่อแลกกับมาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มงวด ซึ่งรวมถึงการลดรายจ่ายและขยายอายุวัย
เกษียณ โดยกรีซกำลังรอเงินช่วยเหลือ 3.15 หมื่นล้านยูโร (4.02 หมื่นล้านดอลลาร์) จากแผน
การช่วยเหลือรอบ 2 ของอียู-ไอเอ็มเอฟ ซึ่งได้ยืดเยื้อมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว

เอเชีย: จีน
 เอชเอสบีซี โฮลดิงส์เผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีน
ในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นแตะ 50.4 จากข้อมูลขั้นสุดท้ายที่ 49.5 ในเดือนตุลาคม โดยตัวเลข
ที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่ากิจกรรมภาคการผลิตมีการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า นับเป็นครั้งแรกใน
รอบกว่า 1 ปีที่ดัชนีอยู่ในระดับที่แสดงถึงการขยายตัว ซึ่งมีแนวโน้มจะช่วยคลายวิตกเกี่ยวกับ
ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของจีน
            สำนักงานปริวรรตเงินตราจีน (SAFE) เปิดเผยว่า มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน
ซึ่งออกด้วยประเทศมหาอำนาจทั่วโลก ยังไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินร้อนหรือเม็ดเงินเก็งกำไรที่เพิ่ม
ขึ้นในจีน SAFE ระบุว่า มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งออกโดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
อาจกระตุ้นให้เกิดกระแสเงินร้อนไหลเข้าสู่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งทำให้ประเทศเศรษฐกิจ
เกิดใหม่จัดการกับเม็ดเงินดังกล่าวได้ยากยิ่งขึ้น

เวียดนาม
 สำนักงานสถิติเวียดนาม คาดว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของกรุงฮานอยและเมืองโฮ
จิมินห์ซิตี้ของเวียดนาม จะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย 0.22% ในเดือนพฤศจิกายน เทียบกับสถิติที่
เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนตุลาคม โดยนักวิเคราะห์ระบุถึงสาเหตุที่ทำให้ดัชนี CPI เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ว่าเกิดจากราคาอาหารที่ลดลงและราคาวัตถุดิบทำอาหารที่ทรงตัว ขณะที่ราคาสินค้าเพื่อบริโภค 
รวมถึงรองเท้าและเสื้อผ้าสำหรับฤดูหนาว ปรับตัวสูงขึ้นจากการลงทุนในการผลิตและค่าขนส่งที่
เพิ่มขึ้น 

เกาหลีใต้
 ธนาคารกลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้อาจจะได้รับผลกระทบ
จากความเคลื่อนไหวของค่าเงินมากกว่าที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
นำเข้า ทั้งนี้ ข้อมูลของนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางเกาหลีใต้ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงทุกๆ 
1% ของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์/วอน จะทำให้อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น 
0.1% ในช่วง 9 เดือนถัดจากนั้น ส่วนการเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 % ของราคาสินค้านำเข้า จะทำให้อัตรา
เงินเฟ้อของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเพียง 0.04% ในช่วง 9 เดือนนับจากนั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความ
เคลื่อนไหวของค่าเงินมีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อมากกว่าราคานำเข้า

ไทย
 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานว่า ในสิ้นปีงบประมาณ 56 ระดับหนี้
สาธารณะจะปรับขึ้นไปอยู่ระดับ 46-47%  ส่วนหนึ่งมาจากการกู้เงินตามแผนบริหารจัดการน้ำ 
3.5 แสนล้านบาท  ขณะที่แผนบริหารจัดการหนี้ภาครัฐในปีนี้อยู่ที่  1 ล้านล้านบาท พร้อมระบุ 
ระดับหนี้สาธารณะจะอยู่ระดับสูงสุดในปีงบประมาณ 59 ที่ระดับ 49% ซึ่งไม่เกินระดับ 50% แม้
กรอบความยั่งยืนทางการคลังกำหนดไว้ไม่เกิน 60% ก็ตาม ทั้งนี้ แผนบริหารจัดการน้ำ การลง
ทุน ตาม พ.ร.บ.โครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ในระยะ 7 ปีข้างหน้า  และตั้งแต่ปีงบ
ประมาณ 60 ระดับหนี้สาธารณะจะปรับลงเล็กน้อย และหลังจากนั้นจะทยอยปรับลดลงต่อเนื่อง 
พร้อมระบุ ความสามารถในการชำระหนี้ภาครัฐไม่สร้างปัญหา โดยภาระหนี้ต่องบประมาณใน
ปัจจุบันอยู่ที่ 8-9%  และจะอยู่ระดับสูงสุดเพียง 11%  ซึ่งยังไม่ถึงกรอบที่กำหนดไว้ไม่เกิน 15% 
จึงเป็นระดับไม่เป็นปัญหา

อื่นๆ
 องค์การความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 3 ของประเทศสมาชิก OECD ขยายตัวเพียง 0.2% ไม่
เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสที่ 2 และสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
กลุ่ม OECD ยังคงมีความแตกต่างกันมาก ทั้งนี้ GDP ของประเทศในสหภาพยุโรป (อียู) ขยาย
ตัว 0.1% หลังได้แรงหนุนจาก GDP ของฝรั่งเศสที่ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด 0.2% อย่างไรก็
ดี GDP ของเยอรมนีซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่สุดในยุโรป กลับชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 0.2% 
และจีดีพีของอิตาลีหดตัวลง 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ที่หดตัวลง 0.7% ขณะที่ GDP ของ
อังกฤษขยายตัว 1% เพราะได้แรงหนุนจากการเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก
กรุงลอนดอน ส่วนเศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 0.9%

           - ตลาดสหรัฐฯ เมื่อวันพฤหัสบดี (22 พ.ย.) ตลาดหุ้น, ตลาดการเงิน และหน่วย
งานราชการของสหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า
          - ตลาดหุ้นเอเชีย เมื่อวันพฤหัสบดี (22 พ.ย.) ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปิดพุ่งขึ้น โดย
ตลาดหุ้นโตเกียวปิดพุ่งขึ้นมาที่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนครึ่ง อันเป็นผลมาจากการได้รับแรง
หนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ และกลุ่มอิเลคทรอนิคส์จากการคาดการณ์ที่ว่าเยนที่
อ่อนค่าลงอย่างมากจะเพิ่มผลกำไรของบริษัทเหล่านี้ โดยดัชนีนิกเกอิปิดตลาดพุ่งขึ้น 144.28 จุด 
หรือ 1.56% สู่ระดับ 9,366.80 เช่นเดียวกับตลาดหุ้นฮ่องกงที่ปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 
สัปดาห์ โดยได้แรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของจีน ขณะที่นักลงทุนพอ
ใจกับความเห็นของรมว.คลังของจีนที่จะใช้นโยบายเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์อย่างค่อยเป็นค่อย
ไป  ทั้งนี้ ดัชนีฮั่งเส็งปิดพุ่งขึ้น 218.84 จุด หรือ 1.02% สู่ระดับ 21,743.20 ซึ่งเป็นระดับปิดสูง
สุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย.
          - ตลาดหุ้นไทย เมื่อวันพฤหัสบดี (22 พ.ย.) ดัชนีหุ้นไทยปิดบวก 0.24% ตามทิศทาง
ตลาดหุ้นต่างประเทศที่ดีดตัวขึ้น โดยมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มธนาคาร เทคโนโลยี และอสังหาริมทรัพย์ 
เข้ามาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าแรงขายหุ้นธ.กรุงไทย (KTB) จากความกังวลตั้งสำรองพิเศษกรณีหนี้
ของบมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) กดดันภาพรวม ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ว่าตลาดดีดตัวขึ้นทาง
เทคนิค หลังปรับลงในช่วง 2 วันที่ผ่านมา ขณะที่ยังมีความคาดหวังเชิงบวกมากขึ้นต่อการช่วย
เหลือปัญหาหนี้กรีซ อย่างไรก็ดี ความไม่ชัดเจนในการแก้ปัญหากรีซ และการชุมนุมภายใน
ประเทศช่วงสุดสัปดาห์นี้ อาจทำให้ดัชนีความผันผวน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น