วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

สำนักวิจัย ซีไอเอ็มบี ไทย : รายงานสรุปและวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินราย วัน 16/01/56


สหรัฐอเมริกา
 ธนาคารกลางสหรัฐ  (Fed) และสำนักงานคลังสหรัฐฯ (OCC) มีคำสั่งให้ เจพีมอร์
แกน เชส (JPMorgan Chase) เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยงและการ
ตรวจสอบบัญชี หลังจากเจพีมอร์แกนสาขากรุงลอนดอน ขาดทุนกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 
จากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์เมื่อปีที่แล้ว โดย Fed และ OCC ได้ออกเอกสารเพื่อสั่งการว่า 
คณะกรรมการบริหารของ JPMorgan จะต้องยื่นแผนที่เป็นลายลักษณ์อักษรในการเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยง, การตรวจสอบบัญชีภายใน และการดำเนินงานด้าน
การเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะกรรมการบริหารจะต้องจัดทำกลไกการชดเชยสำหรับการบริหาร
จัดการระดับสูงที่มีผลลัพธ์ที่มีความเสี่ยงและความไร้ประสิทธิภาพในการควบคุม
 ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนธันวาคม 2555 ลดลง 0.2% หลังจากปรับลง 0.8% 
ในเดือนพฤศจิกาย ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์โดย 
Consensus คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลง 0.1% อันเนื่องมาจากราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัว
ลดลง โดยราคาพลังงานลดลง 0.3% ส่วนราคาอาหารที่ร่วงลง 0.9% ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุด
ในรอบกว่า 1 ปีครึ่ง ทั้งนี้ หากไม่รวมต้นทุนอาหารและพลังงาน ดัชนี PPI เพิ่มขึ้น 0.1% เท่ากับ
ที่เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนพฤศจิกายน 
 ยอดค้าปลีกในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 0.5% สู่ระดับ 4.1570 แสนล้านดอลลาร์
สหรัฐฯ จากที่ขยายตัว 0.4% ในเดือนก่อน (ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้ปรับทบทวนแล้ว) แม้ว่าประเทศ
ยังคงเผชิญปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเกี่ยวกับนโยบายปรับเพิ่มภาษีและลดรายจ่าย ขณะที่
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้น 0.2% ส่วนยอดค้าปลีกที่ไม่รวมรถยนต์
และน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 0.6% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.5%ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ การใช้จ่าย
ของผู้บริโภคคิดเป็นสัดส่วนราว 70% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่ข้อมูล
ของกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวอเมริกันยินดีจะใช้จ่ายมากขึ้นในช่วงสิ้นปี แม้
ว่ายังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการปรับเพิ่มภาษีของประเทศ
 ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) ที่จัดทำโดยธนาคารกลางสหรัฐ 
(Fed) สาขานิวยอร์กในเดือนมกราคม 2556 ลดลงสู่ระดับ -7.78 จากระดับ -7.30 ในเดือน
ธันวาคม 2555 โดยตัวเลขที่ต่ำกว่า 0 บ่งชี้ว่ากิจกรรมการผลิตในนิวยอร์กยังคงอยู่ในภาวะ
หดตัวในช่วงเริ่มต้นปี 2556 สำหรับดัชนีในหัวข้อย่อยต่างๆ เป็นดังนี้ ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ลดลงสู่
รัดบ -7.18 จากระดับ -3.44 ในเดือนธันวาคม 2555 ขณะที่ดัชนีการส่งออกลดลงสู่ระดับ -3.08 
จาก 11.93 ในเดือนที่แล้ว ส่วนดัชนีการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นแต่ดัชนียังคงต่ำกว่า 0 ที่ -4.30 
จาก -9.68 ในเดือนก่อนหน้า สำหรับดัชนีคาดการณ์ภาวะทางธุรกิจโดยทั่วไปในช่วง 6 เดือน
หน้า ปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับ 22.41 จากระดับ 17.95 ในเดือนที่แล้ว แต่ดัชนีคาดการณ์ของลูกจ้าง
ลดลงมาอยู่ที่ 7.53 จาก 10.75 ในดือนธันวาคม
 สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้น 0.3% สู่ระดับสูงเป็น
ประวัติการณ์ที่ 1.62 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับที่เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนตุลาคม 
 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำระหว่างประเทศ ฟิทช์ เรทติงส์ เปิดเผยว่า 
ความล้มเหลวในการเพิ่มเพดานหนี้ได้ทันเวลาจะส่งผลให้มีการพิจารณาทบทวนอันดับความน่า
เชื่อถือของสหรัฐฯ และอาจมีการปรับลดแนวโน้มเชิงลบของอันดันเครดิตที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ  
AAA 

ยุโรป: สหภาพยุโรป
 สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปหรือยูโรสแตทรายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรม
ของกลุ่มยูโรโซน ปรับตัวลดลง 0.3% (m-o-m) ในเดือนพฤศจิกายน และสวนทางกับตัวเลข
ที่นักเศรษฐศาสตร์โดย Consensus forecast ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% อย่างไรก็ตาม อัตราการ
หดตัวเริ่มชะลอลงจากช่วง 2 เดือนก่อนหน้าที่ลดลงค่อนข้างมากที่ -2.5% และ -1.0% ตาม
ลำดับ ขณะที่การผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) 27 ประเทศ ลดลง 
0.3% เช่นกัน

อังกฤษ
 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเดือนธันวาคม 
2555 ทรงตัวที่ 2.7% ซึ่งเป็นระดับสูงกว่าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) กำหนดไว้ที่ 2% เนื่อง
จากราคาพลังงานเพิ่มขึ้น

สเปน
 ธนาคารกลางสเปนเปิดเผยว่า ตัวเลขหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์สเปนกู้ยืมจากธนาคาร
กลางยุโรป (อีซีบี) ในช่วงเดือนธันวาคม 2555 ปรับตัวลดลง 8.13% จากเดือนพฤศจิกายน มา
อยู่ที่ 3.13109 แสนล้านยูโร (4.16 แสนล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ ตัวเลขหนี้สินเดือนธันวาคมปรับตัว
ลง 2.7726 หมื่นล้านยูโรจากเดือนพฤศจิกายนซึ่งมีหนี้สินที่ระดับ 3.40835 แสนล้านยูโร และ
เป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม หาก
เทียบเป็นรายปีพบว่า ตัวเลขหนี้สินเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 1.94248 แสนล้านยูโร จากเดือน
ธันวาคม 2554 ที่ระดับ 1.18861 แสนล้านยูโร
 ตัวเลขหนี้สินที่ธนาคารสเปนกู้ยืมจากอีซีบีนั้น คิดเป็นสัดส่วน 35.6% ของตัวเลข
หนี้สินทั้งหมดในยูโรโซน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 8.84094 แสนล้านยูโรในเดือนธันวาคม ทั้งนี้ แม้ว่าตัว
เลขหนี้สินปรับตัวลดลงเป็นเวลา 4 เดือนติดต่อกัน แต่หนี้สินของธนาคารสเปนที่กู้ยืมจากอีซีบี
ยังอยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสเปน
ในยูโรโซน (ราว 13%) ประกอบกับการที่ระบบการธนาคารของสเปนมีสัดส่วนเพียง 10% ของ
ระบบการธนาคารของยูโรโซน

เนเธอร์แลนด์
 สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศคงแนวโน้มความน่าเชื่อถือของ
เนเธอร์แลนด์ที่ระดับ AAA แต่ยังคงแนวโน้มความน่าเชื่อถือในเชิงลบ โดยระบุว่า ตลอดเวลา
ที่ผ่านมานั้น เนเธอร์แลนด์ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างรอบคอบและยืดหยุ่น นอกจากนี้ 
เศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์ยังได้ชื่อว่ามีระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในยุโรป อย่างไรก็ตาม 
แรงกดดันทางเศรษฐกิจทั่วโลกอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการเงินต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจ
โดยรวมของเนเธอร์แลนด์ ดังนั้น เอสแอนด์พีจึงยังคงแนวโน้มความน่าเชื่อถือของเนเธอร์แลนด์
เอาไว้ที่ เชิงลบ ซึ่งหมายความว่าอันดับความน่าเชื่อถือของเนเธอร์แลนด์อาจจะถูกปรับลดลงใน
วันข้างหน้า

เอเชีย: ญี่ปุ่น
 ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นกล่าวว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงอ่อนแอซึ่งธนาคารกลาง
ญี่ปุ่นกำลังเตรียมที่จะตัดสินใจว่าจะเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 5 เดือน
หรือไม่ ทั้งนี้ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นมองว่าการส่งออกและภาคการผลิตของญี่ปุ่นกำลังหดตัว
จากผลของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่องซึ่งเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นในการ
ที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มขึ้นในการประชุมสัปดาห์หน้า 
โดยจากข้อมูลของแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับการประชุมเพื่อการตัดสินใจของธนาคารกลางญี่ปุ่น
ชี้ว่าในการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันที่ 21-22 มกราคมนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจตัดสินใจ
ปรับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเป็น 2% จากเดิม 1% ตามความต้องการของนายกรัฐมนตรีของ
ญี่ปุ่น
 Zhu Min ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศกล่าวว่า
ภาระหนี้สินของญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นจากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินมาตรการพิเศษเพื่อกระตุ้นการ
เติบโตของเศรษฐกิจส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นขณะนี้มีความเสี่ยงสูงมาก โดยรัฐบาลญี่ปุ่นจำเป็น
ต้องสร้างความแข็งแกร่งทางด้านการคลังของประเทศมากขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศ
มาตรการทางการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมูลค่า 10.3 ล้านล้านเยน 
( 1.15 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ตามนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ต้องการจะกระตุ้นการเติบโต
ของเศรษฐกิจ แก้ภาวะเงินฝืด โดยจากการประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
หนี้สาธารณะต่อ GDP ของญี่ปุ่น ณ สิ้นปี 2555 อยู่ที่ 237% ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืม
ของรัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
 นายอากิรา อามาริ รมว.เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกล่าวว่าข้อตกลงด้านนโยบาย
ที่ทางกระทรวงตั้งเป้าหมายว่าจะทำร่วมกับธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) นั้นจะระบุชัดเจนถึง
สิ่งที่รัฐบาลและบีโอเจต้องทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เขากล่าวว่า สภานโยบายเศรษฐกิจและ
การคลังจะทำหน้าที่เป็นช่องทางตรวจสอบความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายนโยบายที่กำหนด
โดยรัฐบาลและบีโอเจ ทั้งนี้รัฐบาลกำลังเจรจากับบีโอเจเพื่อออกแถลงการณ์ร่วมกันในเดือนนี้
เพื่อทำให้บีโอเจรับผิดชอบในการบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเป้าหมาย
ขณะนี้ที่ 1%
 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของ 8 ใน 9 ภูมิภาค
ของของญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับ 3 เดือนที่แล้ว โดยได้ตอกย้ำถึงผลกระทบที่เพิ่มขึ้นจากการส่งออก
ที่ทรุดตัวที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะถดถอยเล็กน้อยในขณะนี้ ทั้งนี้ภูมิภาคจำนวนมากระบุ
ว่า เศรษฐกิจกำลังปรับตัวอ่อนแอหรืออ่อนแอลง อันเนื่องจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของการ
ขยายตัวในต่างประเทศ

อินเดีย
 อัตราเงินเฟ้อของอินเดียเดือนธันวาคมลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปีซึ่งเพิ่มโอกาสในการ
ที่ธนาคารกลางอินเดียจะลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวมากขึ้น 
โดยกระทรวงพาณิชย์ของอินเดียรายงานว่าดัชนีราคาค้าส่งของอินเดียเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 
7.18% จากเดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ 13 รายจาก 16 รายจากการสำรวจ
ของ Bloomberg คาดการณ์ว่าธนาคารกลางอินเดียจะลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลง 0.25% มา
อยู่ที่ 7.75% ในการประชุมวันที่ 29 มกราคมนี้

ไทย
 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม รายงานว่า ดัชนี
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index — MPI) ประจำเดือน
พฤศจิกายน 2555 ขยายตัว 83.3% (y-o-y) สู่ระดับ 189.11 อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้น
ของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ได้รับแรงส่งจากโครงการรถคันแรกของภาครัฐ รวมทั้งฐาน
เปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงปลายปี 2554 ที่ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยได้รับผลกระทบจาก
ปัญหาน้ำท่วม ส่วนการผลิตสินค้าในกลุ่มฮาร์ดดิสก์และอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัว ตั้งแต่ต้นปี 
2555 เพิ่มสูงขึ้นจากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำ แต่ระดับการผลิตยังไม่กลับสู่ปกติ ขณะที่สถานการณ์
การส่งออกอุตสากรรมในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ขยายตัว 37.1% (y-o-y)  ขณะที่การส่งออก
อุตสาหกรรมไม่รวมทองคำแท่งขยายตัว 41.8 จากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงปี 2554 พร้อม
ระบุสำหรับแนวโน้มภาพรวมอุตสาหกรรม ในปี 2555 — 2556 ว่ามีปัจจัยบวก คือ การบริโภค 
และการลงทุนของภาคเอกชน มีแนวโน้มที่จะขยายตัว จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของ
ภาครัฐ การเติบโตประเทศเศรษฐกิจใหม่ ภูมิภาคเอเชีย และอาเซียน  แรงกดดันด้านราคา
น้ำมัน รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ นโยบายรถคันแรก การปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาพรวมอุตสาหกรรม คือการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่
ค้า การฟื้นตัวของบางอุตสาหกรรมอาจจะล่าช้าไปจนถึงสิ้นปี 2555 ต่อเนื่องปี 2556 การแข็งค่า
ของเงินบาทหลังธนาคารกลางสหรัฐประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม (QE3) 
และต้นทุนการผลิตที่จะสูงขึ้นจากการปรับค่าแรง 300 บาท ทั้งนี้ สศอ. คาดการณ์ การขยายตัว
ของภาคอุตสาหกรรม ปี 2555 โดย GDP อุตสาหกรรมจะขยายตัว 5.5 —5.6% และ MPI 
ขยายตัว 2.5 — 3.0% และในปี 2556  GDP อุตสาหกรรมจะขยายตัว 4.0  — 5.0% และ MPI 
ขยายตัว 3.5 — 4.5%

อื่นๆ
 ธนาคารโลกเปิดเผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกครั้งล่าสุด โดยคาดว่าเศษ
ฐกิจโลกจะขยายตัวในอัตรา 2.4% ในปี 2556 ก่อนที่จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ระดับ 3.1% 
ในปี 2557
            - บาท/ดอลลาร์ เมื่อวันอังคาร (15 ม.ค.) ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับ
ดอลลาร์สหรัฐฯในเช้าวันนี้ โดยเป็นผลจากการที่เงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามามาก ซึ่งสอดคล้อง
กับภาวะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับสูงขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ ขณะเดียวกันอีกส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากการ
ที่มีแรงซื้อเงินเยนและขายดอลลาร์สหรัฐฯมากเนื่องจากคำกล่าวของรัฐมนตรีเศรษฐกิจญี่ปุ่นส่ง
ผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าทางการญี่ปุ่นจะไม่เร่งในการที่จะทำให้ค่าเงินเยนอ่อนลงเมื่อเทียบ
กับดอลลาร์สหรัฐฯ
            - เยน/ดอลลาร์ เมื่อวันอังคาร (15 ม.ค.) ค่าเงินเยนแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
ในช่วงเช้าวันนี้จากการที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจญี่ปุ่นกล่าวว่าการอ่อนลงมากเกินไปของค่าเงินเยนส่ง
ผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าสูงขึ้นและส่งผลลบต่อภาคครัวเรือน ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า
ทางการญี่ปุ่นอาจไม่พยายามในการที่จะทำให้ค่าเงินเยนอ่อนลงไปกว่านี้มากนัก 
            - ยูโร/ดอลลาร์ เมื่อวันอังคาร (15 ม.ค.) ค่าเงินยูโรอ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
ในช่วงเช้าวันนี้ซึ่งเป็นผลจากการขายยูโรออกมาหลังจากที่ค่าเงินยูโรแข็งขึ้นมามากในช่วง 3 วัน
ทำการก่อนหน้านี้