วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

สำนักวิจัย ซีไอเอ็มบี ไทย : รายงานสรุปและวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินราย วัน 16/01/56


สหรัฐอเมริกา
 ธนาคารกลางสหรัฐ  (Fed) และสำนักงานคลังสหรัฐฯ (OCC) มีคำสั่งให้ เจพีมอร์
แกน เชส (JPMorgan Chase) เพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยงและการ
ตรวจสอบบัญชี หลังจากเจพีมอร์แกนสาขากรุงลอนดอน ขาดทุนกว่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 
จากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์เมื่อปีที่แล้ว โดย Fed และ OCC ได้ออกเอกสารเพื่อสั่งการว่า 
คณะกรรมการบริหารของ JPMorgan จะต้องยื่นแผนที่เป็นลายลักษณ์อักษรในการเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยง, การตรวจสอบบัญชีภายใน และการดำเนินงานด้าน
การเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะกรรมการบริหารจะต้องจัดทำกลไกการชดเชยสำหรับการบริหาร
จัดการระดับสูงที่มีผลลัพธ์ที่มีความเสี่ยงและความไร้ประสิทธิภาพในการควบคุม
 ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนธันวาคม 2555 ลดลง 0.2% หลังจากปรับลง 0.8% 
ในเดือนพฤศจิกาย ซึ่งเป็นการลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์โดย 
Consensus คาดการณ์ไว้ว่าจะลดลง 0.1% อันเนื่องมาจากราคาพลังงานและอาหารที่ปรับตัว
ลดลง โดยราคาพลังงานลดลง 0.3% ส่วนราคาอาหารที่ร่วงลง 0.9% ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุด
ในรอบกว่า 1 ปีครึ่ง ทั้งนี้ หากไม่รวมต้นทุนอาหารและพลังงาน ดัชนี PPI เพิ่มขึ้น 0.1% เท่ากับ
ที่เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนพฤศจิกายน 
 ยอดค้าปลีกในเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 0.5% สู่ระดับ 4.1570 แสนล้านดอลลาร์
สหรัฐฯ จากที่ขยายตัว 0.4% ในเดือนก่อน (ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้ปรับทบทวนแล้ว) แม้ว่าประเทศ
ยังคงเผชิญปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเกี่ยวกับนโยบายปรับเพิ่มภาษีและลดรายจ่าย ขณะที่
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่ายอดค้าปลีกจะเพิ่มขึ้น 0.2% ส่วนยอดค้าปลีกที่ไม่รวมรถยนต์
และน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 0.6% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.5%ในเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ การใช้จ่าย
ของผู้บริโภคคิดเป็นสัดส่วนราว 70% ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจสหรัฐ ขณะที่ข้อมูล
ของกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวอเมริกันยินดีจะใช้จ่ายมากขึ้นในช่วงสิ้นปี แม้
ว่ายังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการปรับเพิ่มภาษีของประเทศ
 ดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวม (Empire State Index) ที่จัดทำโดยธนาคารกลางสหรัฐ 
(Fed) สาขานิวยอร์กในเดือนมกราคม 2556 ลดลงสู่ระดับ -7.78 จากระดับ -7.30 ในเดือน
ธันวาคม 2555 โดยตัวเลขที่ต่ำกว่า 0 บ่งชี้ว่ากิจกรรมการผลิตในนิวยอร์กยังคงอยู่ในภาวะ
หดตัวในช่วงเริ่มต้นปี 2556 สำหรับดัชนีในหัวข้อย่อยต่างๆ เป็นดังนี้ ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ลดลงสู่
รัดบ -7.18 จากระดับ -3.44 ในเดือนธันวาคม 2555 ขณะที่ดัชนีการส่งออกลดลงสู่ระดับ -3.08 
จาก 11.93 ในเดือนที่แล้ว ส่วนดัชนีการจ้างงานปรับตัวดีขึ้นแต่ดัชนียังคงต่ำกว่า 0 ที่ -4.30 
จาก -9.68 ในเดือนก่อนหน้า สำหรับดัชนีคาดการณ์ภาวะทางธุรกิจโดยทั่วไปในช่วง 6 เดือน
หน้า ปรับตัวดีขึ้นสู่ระดับ 22.41 จากระดับ 17.95 ในเดือนที่แล้ว แต่ดัชนีคาดการณ์ของลูกจ้าง
ลดลงมาอยู่ที่ 7.53 จาก 10.75 ในดือนธันวาคม
 สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้น 0.3% สู่ระดับสูงเป็น
ประวัติการณ์ที่ 1.62 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับที่เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนตุลาคม 
 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำระหว่างประเทศ ฟิทช์ เรทติงส์ เปิดเผยว่า 
ความล้มเหลวในการเพิ่มเพดานหนี้ได้ทันเวลาจะส่งผลให้มีการพิจารณาทบทวนอันดับความน่า
เชื่อถือของสหรัฐฯ และอาจมีการปรับลดแนวโน้มเชิงลบของอันดันเครดิตที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ  
AAA 

ยุโรป: สหภาพยุโรป
 สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปหรือยูโรสแตทรายงานว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรม
ของกลุ่มยูโรโซน ปรับตัวลดลง 0.3% (m-o-m) ในเดือนพฤศจิกายน และสวนทางกับตัวเลข
ที่นักเศรษฐศาสตร์โดย Consensus forecast ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% อย่างไรก็ตาม อัตราการ
หดตัวเริ่มชะลอลงจากช่วง 2 เดือนก่อนหน้าที่ลดลงค่อนข้างมากที่ -2.5% และ -1.0% ตาม
ลำดับ ขณะที่การผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) 27 ประเทศ ลดลง 
0.3% เช่นกัน

อังกฤษ
 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานว่าอัตราเงินเฟ้อของอังกฤษเดือนธันวาคม 
2555 ทรงตัวที่ 2.7% ซึ่งเป็นระดับสูงกว่าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (บีโออี) กำหนดไว้ที่ 2% เนื่อง
จากราคาพลังงานเพิ่มขึ้น

สเปน
 ธนาคารกลางสเปนเปิดเผยว่า ตัวเลขหนี้สินที่ธนาคารพาณิชย์สเปนกู้ยืมจากธนาคาร
กลางยุโรป (อีซีบี) ในช่วงเดือนธันวาคม 2555 ปรับตัวลดลง 8.13% จากเดือนพฤศจิกายน มา
อยู่ที่ 3.13109 แสนล้านยูโร (4.16 แสนล้านดอลลาร์) ทั้งนี้ ตัวเลขหนี้สินเดือนธันวาคมปรับตัว
ลง 2.7726 หมื่นล้านยูโรจากเดือนพฤศจิกายนซึ่งมีหนี้สินที่ระดับ 3.40835 แสนล้านยูโร และ
เป็นการปรับตัวลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม หาก
เทียบเป็นรายปีพบว่า ตัวเลขหนี้สินเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 1.94248 แสนล้านยูโร จากเดือน
ธันวาคม 2554 ที่ระดับ 1.18861 แสนล้านยูโร
 ตัวเลขหนี้สินที่ธนาคารสเปนกู้ยืมจากอีซีบีนั้น คิดเป็นสัดส่วน 35.6% ของตัวเลข
หนี้สินทั้งหมดในยูโรโซน ซึ่งอยู่ที่ระดับ 8.84094 แสนล้านยูโรในเดือนธันวาคม ทั้งนี้ แม้ว่าตัว
เลขหนี้สินปรับตัวลดลงเป็นเวลา 4 เดือนติดต่อกัน แต่หนี้สินของธนาคารสเปนที่กู้ยืมจากอีซีบี
ยังอยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสเปน
ในยูโรโซน (ราว 13%) ประกอบกับการที่ระบบการธนาคารของสเปนมีสัดส่วนเพียง 10% ของ
ระบบการธนาคารของยูโรโซน

เนเธอร์แลนด์
 สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศคงแนวโน้มความน่าเชื่อถือของ
เนเธอร์แลนด์ที่ระดับ AAA แต่ยังคงแนวโน้มความน่าเชื่อถือในเชิงลบ โดยระบุว่า ตลอดเวลา
ที่ผ่านมานั้น เนเธอร์แลนด์ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างรอบคอบและยืดหยุ่น นอกจากนี้ 
เศรษฐกิจของเนเธอร์แลนด์ยังได้ชื่อว่ามีระบบเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในยุโรป อย่างไรก็ตาม 
แรงกดดันทางเศรษฐกิจทั่วโลกอาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการเงินต่อภาคการเงินและเศรษฐกิจ
โดยรวมของเนเธอร์แลนด์ ดังนั้น เอสแอนด์พีจึงยังคงแนวโน้มความน่าเชื่อถือของเนเธอร์แลนด์
เอาไว้ที่ เชิงลบ ซึ่งหมายความว่าอันดับความน่าเชื่อถือของเนเธอร์แลนด์อาจจะถูกปรับลดลงใน
วันข้างหน้า

เอเชีย: ญี่ปุ่น
 ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นกล่าวว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังคงอ่อนแอซึ่งธนาคารกลาง
ญี่ปุ่นกำลังเตรียมที่จะตัดสินใจว่าจะเพิ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 5 เดือน
หรือไม่ ทั้งนี้ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นมองว่าการส่งออกและภาคการผลิตของญี่ปุ่นกำลังหดตัว
จากผลของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่องซึ่งเพิ่มความเป็นไปได้มากขึ้นในการ
ที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มขึ้นในการประชุมสัปดาห์หน้า 
โดยจากข้อมูลของแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องกับการประชุมเพื่อการตัดสินใจของธนาคารกลางญี่ปุ่น
ชี้ว่าในการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันที่ 21-22 มกราคมนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นอาจตัดสินใจ
ปรับเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อเป็น 2% จากเดิม 1% ตามความต้องการของนายกรัฐมนตรีของ
ญี่ปุ่น
 Zhu Min ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศกล่าวว่า
ภาระหนี้สินของญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นจากการที่รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินมาตรการพิเศษเพื่อกระตุ้นการ
เติบโตของเศรษฐกิจส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นขณะนี้มีความเสี่ยงสูงมาก โดยรัฐบาลญี่ปุ่นจำเป็น
ต้องสร้างความแข็งแกร่งทางด้านการคลังของประเทศมากขึ้น ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศ
มาตรการทางการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมูลค่า 10.3 ล้านล้านเยน 
( 1.15 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ตามนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ต้องการจะกระตุ้นการเติบโต
ของเศรษฐกิจ แก้ภาวะเงินฝืด โดยจากการประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
หนี้สาธารณะต่อ GDP ของญี่ปุ่น ณ สิ้นปี 2555 อยู่ที่ 237% ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืม
ของรัฐบาลญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
 นายอากิรา อามาริ รมว.เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกล่าวว่าข้อตกลงด้านนโยบาย
ที่ทางกระทรวงตั้งเป้าหมายว่าจะทำร่วมกับธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) นั้นจะระบุชัดเจนถึง
สิ่งที่รัฐบาลและบีโอเจต้องทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เขากล่าวว่า สภานโยบายเศรษฐกิจและ
การคลังจะทำหน้าที่เป็นช่องทางตรวจสอบความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายนโยบายที่กำหนด
โดยรัฐบาลและบีโอเจ ทั้งนี้รัฐบาลกำลังเจรจากับบีโอเจเพื่อออกแถลงการณ์ร่วมกันในเดือนนี้
เพื่อทำให้บีโอเจรับผิดชอบในการบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเป้าหมาย
ขณะนี้ที่ 1%
 ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจของ 8 ใน 9 ภูมิภาค
ของของญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับ 3 เดือนที่แล้ว โดยได้ตอกย้ำถึงผลกระทบที่เพิ่มขึ้นจากการส่งออก
ที่ทรุดตัวที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะถดถอยเล็กน้อยในขณะนี้ ทั้งนี้ภูมิภาคจำนวนมากระบุ
ว่า เศรษฐกิจกำลังปรับตัวอ่อนแอหรืออ่อนแอลง อันเนื่องจากการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องของการ
ขยายตัวในต่างประเทศ

อินเดีย
 อัตราเงินเฟ้อของอินเดียเดือนธันวาคมลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปีซึ่งเพิ่มโอกาสในการ
ที่ธนาคารกลางอินเดียจะลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจอินเดียขยายตัวมากขึ้น 
โดยกระทรวงพาณิชย์ของอินเดียรายงานว่าดัชนีราคาค้าส่งของอินเดียเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้น 
7.18% จากเดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ 13 รายจาก 16 รายจากการสำรวจ
ของ Bloomberg คาดการณ์ว่าธนาคารกลางอินเดียจะลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลง 0.25% มา
อยู่ที่ 7.75% ในการประชุมวันที่ 29 มกราคมนี้

ไทย
 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม รายงานว่า ดัชนี
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing Production Index — MPI) ประจำเดือน
พฤศจิกายน 2555 ขยายตัว 83.3% (y-o-y) สู่ระดับ 189.11 อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้น
ของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ได้รับแรงส่งจากโครงการรถคันแรกของภาครัฐ รวมทั้งฐาน
เปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงปลายปี 2554 ที่ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยได้รับผลกระทบจาก
ปัญหาน้ำท่วม ส่วนการผลิตสินค้าในกลุ่มฮาร์ดดิสก์และอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอตัว ตั้งแต่ต้นปี 
2555 เพิ่มสูงขึ้นจากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำ แต่ระดับการผลิตยังไม่กลับสู่ปกติ ขณะที่สถานการณ์
การส่งออกอุตสากรรมในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ ขยายตัว 37.1% (y-o-y)  ขณะที่การส่งออก
อุตสาหกรรมไม่รวมทองคำแท่งขยายตัว 41.8 จากฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในช่วงปี 2554 พร้อม
ระบุสำหรับแนวโน้มภาพรวมอุตสาหกรรม ในปี 2555 — 2556 ว่ามีปัจจัยบวก คือ การบริโภค 
และการลงทุนของภาคเอกชน มีแนวโน้มที่จะขยายตัว จากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของ
ภาครัฐ การเติบโตประเทศเศรษฐกิจใหม่ ภูมิภาคเอเชีย และอาเซียน  แรงกดดันด้านราคา
น้ำมัน รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ นโยบายรถคันแรก การปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบาย ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาพรวมอุตสาหกรรม คือการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่
ค้า การฟื้นตัวของบางอุตสาหกรรมอาจจะล่าช้าไปจนถึงสิ้นปี 2555 ต่อเนื่องปี 2556 การแข็งค่า
ของเงินบาทหลังธนาคารกลางสหรัฐประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม (QE3) 
และต้นทุนการผลิตที่จะสูงขึ้นจากการปรับค่าแรง 300 บาท ทั้งนี้ สศอ. คาดการณ์ การขยายตัว
ของภาคอุตสาหกรรม ปี 2555 โดย GDP อุตสาหกรรมจะขยายตัว 5.5 —5.6% และ MPI 
ขยายตัว 2.5 — 3.0% และในปี 2556  GDP อุตสาหกรรมจะขยายตัว 4.0  — 5.0% และ MPI 
ขยายตัว 3.5 — 4.5%

อื่นๆ
 ธนาคารโลกเปิดเผยรายงานคาดการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกครั้งล่าสุด โดยคาดว่าเศษ
ฐกิจโลกจะขยายตัวในอัตรา 2.4% ในปี 2556 ก่อนที่จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งที่ระดับ 3.1% 
ในปี 2557
            - บาท/ดอลลาร์ เมื่อวันอังคาร (15 ม.ค.) ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับ
ดอลลาร์สหรัฐฯในเช้าวันนี้ โดยเป็นผลจากการที่เงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามามาก ซึ่งสอดคล้อง
กับภาวะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับสูงขึ้นในช่วงเช้าวันนี้ ขณะเดียวกันอีกส่วนหนึ่งก็เป็นผลจากการ
ที่มีแรงซื้อเงินเยนและขายดอลลาร์สหรัฐฯมากเนื่องจากคำกล่าวของรัฐมนตรีเศรษฐกิจญี่ปุ่นส่ง
ผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าทางการญี่ปุ่นจะไม่เร่งในการที่จะทำให้ค่าเงินเยนอ่อนลงเมื่อเทียบ
กับดอลลาร์สหรัฐฯ
            - เยน/ดอลลาร์ เมื่อวันอังคาร (15 ม.ค.) ค่าเงินเยนแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
ในช่วงเช้าวันนี้จากการที่รัฐมนตรีเศรษฐกิจญี่ปุ่นกล่าวว่าการอ่อนลงมากเกินไปของค่าเงินเยนส่ง
ผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าสูงขึ้นและส่งผลลบต่อภาคครัวเรือน ซึ่งทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า
ทางการญี่ปุ่นอาจไม่พยายามในการที่จะทำให้ค่าเงินเยนอ่อนลงไปกว่านี้มากนัก 
            - ยูโร/ดอลลาร์ เมื่อวันอังคาร (15 ม.ค.) ค่าเงินยูโรอ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ
ในช่วงเช้าวันนี้ซึ่งเป็นผลจากการขายยูโรออกมาหลังจากที่ค่าเงินยูโรแข็งขึ้นมามากในช่วง 3 วัน
ทำการก่อนหน้านี้

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สำนักวิจัย ซีไอเอ็มบี ไทย : รายงานสรุปและวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินราย วัน 23/11/55


สหรัฐอเมริกา
 ตลาดหุ้น, ตลาดการเงิน และหน่วยงานราชการสหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวันขอบคุณ
พระเจ้า

ยุโรป: สหภาพยุโรป
 องค์การความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาส 3 ของประเทศสมาชิก OECD ขยายตัวเพียง 0.2% ซึ่งไม่
เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสที่ 2 และสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
กลุ่ม OECD ยังคงมีความแตกต่างกันมาก ทั้งนี้ จีดีพีของประเทศในสหภาพยุโรป (อียู) ขยายตัว 
0.1% ในไตรมาส 3 แม้ว่าอียูเผชิญกับอุปสรรคทางเศรษฐกิจก็ตาม แต่จีดีพีไตรมาส 3 ยัง
สามารถขยายตัวได้เพราะได้แรงหนุนจากจีดีพีของฝรั่งเศสที่ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด 0.2%
 OECD ระบุว่าจีดีพีของเยอรมนีซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่สุดในยุโรป กลับชะลอตัวลง
มาอยู่ที่ระดับ 0.2% และจีดีพีของอิตาลีหดตัวลง 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ที่หดตัวลง 
0.7% อย่างไรก็ตาม จีดีพีของอังกฤษขยายตัว 1% เพราะได้แรงหนุนจากการเป็นเจ้าภาพจัด
กีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกกรุงลอนดอน หลังจากที่จีดีพีของอังกฤษหดตัวลงในไตรมาส 2 ขณะ
ที่จีดีพีของสหรัฐขยายตัวเพียง 0.5% และเศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 0.9%

เยอรมนี
 นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคลของเยอรมนี กล่าวว่ามีแนวโน้มที่จะมีการบรรลุ
ข้อตกลงในการประชุมรัฐมนตรีคลังยุโรปในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะปูทางสำหรับการเบิกจ่ายเงิน
ช่วยเหลืองวดต่อไปสำหรับกรีซ โดยนางแมร์เคลกล่าวกับสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนีในระหว่างการ
อภิปรายงบประมาณ โดยระบุว่าต้องมีการดำเนินมาตรการอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อแก้ไขปัญหา
ต่างๆของกรีซและยูโรโซนโดยรวม

ฝรั่งเศส
 Markit รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เบื้องต้นของฝรั่งเศส ซึ่งรวมทั้งภาค
การผลิตและภาคบริการ ในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 44.6 จากระดับ 43.5 ในเดือน
กันยายน แต่กิจกรรมภาคธุรกิจยังคงอยู่ในภาวะหดตัวเนื่องจากดัชนียังอยู่ต่ำกว่าระดับ 50

สเปน
 นายลูอิส มาเรีย ลินเด ผู้ว่าการธนาคารกลางสเปน คาดว่า เศรษฐกิจสเปนจะเริ่มฟื้น
ตัวขึ้นในปี 2556 หากรัฐบาลยังคงเดินหน้าใช้มาตรการต่างๆ เช่น การลดยอดขาดดุลงบ
ประมาณตามเป้าหมาย ซึ่งความเชื่อมั่นของชาวต่างชาติขึ้นอยู่กับการเดินหน้าใช้มาตรการเหล่า
นี้ และสเปนจำเป็นต้องลดยอดขาดดุลงบประมาณตามเป้าหมายที่สหภาพยุโรป (อียู) กำหนดไว้ที่ 
6.3% ของผลผลิตทางเศรษฐกิจในปี 2555

กรีซ
 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่าการปรับลดมูลค่าหนี้ให้กรีซโดย
บรรดาเจ้าหนี้ในภาคทางการจะเป็นทางเลือกที่ไม่สามารถเลี่ยงได้ แต่รัฐบาลเยอรมนีคัด
ค้านอย่างรุนแรงต่อข้อเสนอดังกล่าว ทั้งนี้ กรีซได้พึ่งพาความช่วยเหลือทางการเงินจากต่าง
ประเทศเพื่อแลกกับมาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มงวด ซึ่งรวมถึงการลดรายจ่ายและขยายอายุวัย
เกษียณ โดยกรีซกำลังรอเงินช่วยเหลือ 3.15 หมื่นล้านยูโร (4.02 หมื่นล้านดอลลาร์) จากแผน
การช่วยเหลือรอบ 2 ของอียู-ไอเอ็มเอฟ ซึ่งได้ยืดเยื้อมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว

เอเชีย: จีน
 เอชเอสบีซี โฮลดิงส์เผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของจีน
ในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นแตะ 50.4 จากข้อมูลขั้นสุดท้ายที่ 49.5 ในเดือนตุลาคม โดยตัวเลข
ที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่ากิจกรรมภาคการผลิตมีการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้า นับเป็นครั้งแรกใน
รอบกว่า 1 ปีที่ดัชนีอยู่ในระดับที่แสดงถึงการขยายตัว ซึ่งมีแนวโน้มจะช่วยคลายวิตกเกี่ยวกับ
ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของจีน
            สำนักงานปริวรรตเงินตราจีน (SAFE) เปิดเผยว่า มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน
ซึ่งออกด้วยประเทศมหาอำนาจทั่วโลก ยังไม่ก่อให้เกิดกระแสเงินร้อนหรือเม็ดเงินเก็งกำไรที่เพิ่ม
ขึ้นในจีน SAFE ระบุว่า มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน ซึ่งออกโดยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว
อาจกระตุ้นให้เกิดกระแสเงินร้อนไหลเข้าสู่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ซึ่งทำให้ประเทศเศรษฐกิจ
เกิดใหม่จัดการกับเม็ดเงินดังกล่าวได้ยากยิ่งขึ้น

เวียดนาม
 สำนักงานสถิติเวียดนาม คาดว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของกรุงฮานอยและเมืองโฮ
จิมินห์ซิตี้ของเวียดนาม จะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย 0.22% ในเดือนพฤศจิกายน เทียบกับสถิติที่
เพิ่มขึ้น 0.1% ในเดือนตุลาคม โดยนักวิเคราะห์ระบุถึงสาเหตุที่ทำให้ดัชนี CPI เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ว่าเกิดจากราคาอาหารที่ลดลงและราคาวัตถุดิบทำอาหารที่ทรงตัว ขณะที่ราคาสินค้าเพื่อบริโภค 
รวมถึงรองเท้าและเสื้อผ้าสำหรับฤดูหนาว ปรับตัวสูงขึ้นจากการลงทุนในการผลิตและค่าขนส่งที่
เพิ่มขึ้น 

เกาหลีใต้
 ธนาคารกลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้อาจจะได้รับผลกระทบ
จากความเคลื่อนไหวของค่าเงินมากกว่าที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า
นำเข้า ทั้งนี้ ข้อมูลของนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารกลางเกาหลีใต้ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงทุกๆ 
1% ของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินดอลลาร์/วอน จะทำให้อัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น 
0.1% ในช่วง 9 เดือนถัดจากนั้น ส่วนการเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 % ของราคาสินค้านำเข้า จะทำให้อัตรา
เงินเฟ้อของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเพียง 0.04% ในช่วง 9 เดือนนับจากนั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความ
เคลื่อนไหวของค่าเงินมีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อมากกว่าราคานำเข้า

ไทย
 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานว่า ในสิ้นปีงบประมาณ 56 ระดับหนี้
สาธารณะจะปรับขึ้นไปอยู่ระดับ 46-47%  ส่วนหนึ่งมาจากการกู้เงินตามแผนบริหารจัดการน้ำ 
3.5 แสนล้านบาท  ขณะที่แผนบริหารจัดการหนี้ภาครัฐในปีนี้อยู่ที่  1 ล้านล้านบาท พร้อมระบุ 
ระดับหนี้สาธารณะจะอยู่ระดับสูงสุดในปีงบประมาณ 59 ที่ระดับ 49% ซึ่งไม่เกินระดับ 50% แม้
กรอบความยั่งยืนทางการคลังกำหนดไว้ไม่เกิน 60% ก็ตาม ทั้งนี้ แผนบริหารจัดการน้ำ การลง
ทุน ตาม พ.ร.บ.โครงสร้างพื้นฐาน วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ในระยะ 7 ปีข้างหน้า  และตั้งแต่ปีงบ
ประมาณ 60 ระดับหนี้สาธารณะจะปรับลงเล็กน้อย และหลังจากนั้นจะทยอยปรับลดลงต่อเนื่อง 
พร้อมระบุ ความสามารถในการชำระหนี้ภาครัฐไม่สร้างปัญหา โดยภาระหนี้ต่องบประมาณใน
ปัจจุบันอยู่ที่ 8-9%  และจะอยู่ระดับสูงสุดเพียง 11%  ซึ่งยังไม่ถึงกรอบที่กำหนดไว้ไม่เกิน 15% 
จึงเป็นระดับไม่เป็นปัญหา

อื่นๆ
 องค์การความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 3 ของประเทศสมาชิก OECD ขยายตัวเพียง 0.2% ไม่
เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสที่ 2 และสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
กลุ่ม OECD ยังคงมีความแตกต่างกันมาก ทั้งนี้ GDP ของประเทศในสหภาพยุโรป (อียู) ขยาย
ตัว 0.1% หลังได้แรงหนุนจาก GDP ของฝรั่งเศสที่ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด 0.2% อย่างไรก็
ดี GDP ของเยอรมนีซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่สุดในยุโรป กลับชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 0.2% 
และจีดีพีของอิตาลีหดตัวลง 0.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ที่หดตัวลง 0.7% ขณะที่ GDP ของ
อังกฤษขยายตัว 1% เพราะได้แรงหนุนจากการเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก
กรุงลอนดอน ส่วนเศรษฐกิจญี่ปุ่นชะลอตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 0.9%

           - ตลาดสหรัฐฯ เมื่อวันพฤหัสบดี (22 พ.ย.) ตลาดหุ้น, ตลาดการเงิน และหน่วย
งานราชการของสหรัฐฯ ปิดทำการเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า
          - ตลาดหุ้นเอเชีย เมื่อวันพฤหัสบดี (22 พ.ย.) ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปิดพุ่งขึ้น โดย
ตลาดหุ้นโตเกียวปิดพุ่งขึ้นมาที่ระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือนครึ่ง อันเป็นผลมาจากการได้รับแรง
หนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ และกลุ่มอิเลคทรอนิคส์จากการคาดการณ์ที่ว่าเยนที่
อ่อนค่าลงอย่างมากจะเพิ่มผลกำไรของบริษัทเหล่านี้ โดยดัชนีนิกเกอิปิดตลาดพุ่งขึ้น 144.28 จุด 
หรือ 1.56% สู่ระดับ 9,366.80 เช่นเดียวกับตลาดหุ้นฮ่องกงที่ปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 
สัปดาห์ โดยได้แรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของจีน ขณะที่นักลงทุนพอ
ใจกับความเห็นของรมว.คลังของจีนที่จะใช้นโยบายเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์อย่างค่อยเป็นค่อย
ไป  ทั้งนี้ ดัชนีฮั่งเส็งปิดพุ่งขึ้น 218.84 จุด หรือ 1.02% สู่ระดับ 21,743.20 ซึ่งเป็นระดับปิดสูง
สุดนับตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย.
          - ตลาดหุ้นไทย เมื่อวันพฤหัสบดี (22 พ.ย.) ดัชนีหุ้นไทยปิดบวก 0.24% ตามทิศทาง
ตลาดหุ้นต่างประเทศที่ดีดตัวขึ้น โดยมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มธนาคาร เทคโนโลยี และอสังหาริมทรัพย์ 
เข้ามาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าแรงขายหุ้นธ.กรุงไทย (KTB) จากความกังวลตั้งสำรองพิเศษกรณีหนี้
ของบมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) กดดันภาพรวม ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ว่าตลาดดีดตัวขึ้นทาง
เทคนิค หลังปรับลงในช่วง 2 วันที่ผ่านมา ขณะที่ยังมีความคาดหวังเชิงบวกมากขึ้นต่อการช่วย
เหลือปัญหาหนี้กรีซ อย่างไรก็ดี ความไม่ชัดเจนในการแก้ปัญหากรีซ และการชุมนุมภายใน
ประเทศช่วงสุดสัปดาห์นี้ อาจทำให้ดัชนีความผันผวน

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สำนักวิจัย ซีไอเอ็มบี ไทย : รายงานสรุปและวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินราย วัน 22/11/55


สหรัฐอเมริกา
 ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่จัดทำโดย Conference Board ในเดือนตุลาคม 
ขยายตัว 0.2% จากที่ขยายตัว 0.5% ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นตัวเลขทบทวนจากเดิมที่รายงาน
ว่าขยายตัว 0.6% ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มต่างๆ ในตอนนี้ เศรษฐกิจ
สหรัฐน่าจะขยายตัวเล็กน้อยต่อไปจนถึงช่วงต้นปีหน้า อย่างไรก็ดี ตอนนี้ยังไม่มีความแน่ชัดว่า
พายุแซนดี้จะส่งผลกระทบมากน้อยเพียงใดต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ที่จัดทำโดย Reuters/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ช่วง
ท้ายเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 82.7 จากระดับ 82.6 ในเดือนตุลาคม อย่างไรก็ตาม ตัว
เลขดังกล่าวต่ำกว่ารายงานช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ระบุว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐอยู่ที่ 
84.9 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 84.5 ทั้งนี้ ค่าเฉลี่ยของดัชนีความเชื่อ
มั่นผู้บริโภคในช่วงระยะเวลา 5 ปีก่อนที่สหรัฐจะเผชิญภาวะเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งดำเนินมาจนถึง
กลางปี 2552 นั้น อยู่ที่ระดับ 89 ขณะที่ค่าเฉลี่ยในช่วงเศรษฐกิจถดถอยครั้งล่าสุดอยู่ที่ 64.2
 ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นของสหรัฐที่จัดทำโดย Markit 
ในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 52.4 จากระดับ 51.0 ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดใน
รอบ 5 เดือน ทั้งนี้ ตัวเลขที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของสหรัฐมีการขยายตัวจากเดือนก่อน
หน้าสำหรับดัชนีย่อยอื่นๆนั้น ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 52.8 จากระดับ 51.1 ในเดือน
ตุลาคมขณะที่ดัชนีการส่งออกเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 49.9 จากระดับ 47.2 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังหด
ตัวเล็กน้อย เนื่องจากตัวเลขยังต่ำกว่าระดับ 50 ส่วนดัชนีด้านการผลิต ปรับขึ้นสู่ระดับ 52.9 
จากระดับ 51.4 ในเดือนก่อนหน้า และดัชนีการจ้างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 52.6 จากรัดบ 51.8 ใน
เดือนตุลาคม
 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายใหม่ในรอบสัปดาห์ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 17 พฤศจิกายน 
ลดลง 41,000 ราย สู่ระดับ 410,000 ราย ทั้งนี้ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกยังอยู่
เหนือระดับ 400,000 ราย ติดต่อกัน 2 สัปดาห์เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี เนื่องจากพายุแซนดี้ที่
พัดถล่มชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐได้ส่งผลต่อหน้าที่การงานของผู้คนจำนวนมาก สำหรับจำนวนผู้
ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกโดยเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักเคลื่อนที่ 4 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 9,500 
ราย แตะที่ 396,250 ราย ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี 

ยุโรป: เยอรมนี
 ธนาคารกลางเยอรมนี (บุนเดสแบงก์) ระบุว่า เศรษฐกิจเยอรมนีอาจจะชะลอตัวลง
อีกในปลายปีนี้ ขณะที่กำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้ยูโรโซนและภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอ
ตัว   บุนเดสแบงก์ระบุว่า วิกฤติหนี้ยูโรโซนและภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวกำลังกระทบหลาย
ภาคส่วนของเศรษฐกิจเยอรมนี ขณะที่ผลสำรวจพบว่า ความเชื่อมั่นดิ่งลง, อัตราว่างงานเพิ่มขึ้น 
และผลผลิตลดลง นอกจากนี้ บุนเดสแบงก์ยังระบุว่า ตลาดจ้างงานจะได้รับผลกระทบเช่นกัน

ฝรั่งเศส
 นายปิแอร์ มอสโควิซี รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศสกล่าวปกป้องเศรษฐกิจและการเงินของ
ฝรั่งเศส หลังสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ปรับลดอันดับความน่า
เชื่อถือพันธบัตรของรัฐบาลฝรั่งเศส ลงจากระดับ AAA ว่า การเปลี่ยนแปลงของอันดับความน่า
เชื่อถือดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของฝรั่งเศส ความพยายามที่ดำเนิน
การโดยรัฐบาล และความน่าเชื่อถือของประเทศ

กรีซ
 ที่ประชุมรมว.คลังยูโรโซนไม่สามารถตกลงกันได้เรื่องข้อตกลงในการให้ความ
ช่วยเหลือกรีซเพิ่มเติม ส่งผลให้สถานการณ์กลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรทั้ง 17 ประเทศนั้น 
ตกอยู่ในความไม่แน่นอนมากขึ้นไปอีก  
 นายฌอง คล้อด ยุงเกอร์ ประธานการประชุมรมว.คลังยูโรโซน กล่าวว่า จะมีการจัดการ
ประชุมอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 26 พ.ย.นี้ ขณะที่การประชุมที่ผ่านมานั้น มีความคืบหน้าในเรื่องของ
การระบุขอบเขตของความเป็นไปได้ในการลดหนี้ของรัฐบาลกรีซเท่านั้น แต่รมว.คลัง กลุ่มเจ้าหนี้
ของกรีซ และกองทุนการเงินระหว่างประเทศยังไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับวิธีการบริหาร
จัดการหนี้ของกรีซ
 กลุ่มเจ้าหนี้ของกรีซซึ่งนำโดยเยอรมนีนั้น ปฏิเสธที่จะอัดฉีดเงินเพิ่มเติมหรือข้อเสนอ
เพื่อบรรเทาหนี้ของกรีซ ส่งผลให้รมว.คลังไม่สามารถรวบรวมเงินจากแหล่งเงินอื่นๆได้เพียงพอที่
จะบรรเทาภาระหนี้สินของกรีซ ซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ 190% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 
(จีดีพี) ในปี 2557

เอเชีย: จีน
 หนังสือพิมพ์ไชน่า ซีเคียวริตีส์ เจอร์นัลรายงานโดยอ้างอิงการคาดการณ์ของนัก
วิเคราะห์ว่า อัตราเงินเฟ้อของจีนอาจจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนพ.ย. เนื่องจากการปรับตัวขึ้นตาม
ฤดูกาลของราคาสินค้าเกษตร ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรจีนระบุว่า ดัชนีราคาค้าส่งของผลิตภัณฑ์
เกษตรอยู่ที่ 186.00 จุดในวันที่ 20 พ.ย. เพิ่มขึ้น 1.92% ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอัตรา
เงินเฟ้อของจีนอาจดีดขึ้นกลับสู่ระดับ 2% ในเดือนพฤศจิกายน รายงานระบุว่า เนื่องจากราคา
อาหารมักแพงขึ้นในฤดูหนาว อาจทำให้ระดับเงินเฟ้อของจีนปรับตัวขึ้นอีกในช่วง 2 เดือนสุดท้าย
ของปีนี้ 

ญี่ปุ่น
 กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยในรายงานขั้นต้นว่า ญี่ปุ่นขาดดุลการค้า 5.49 แสนล้าน
เยนในเดือนตุลาคม ซึ่งถือเป็นการขาดดุลที่มากที่สุดนับตั้งแต่มีการจัดทำข้อมูลการค้าในปี 
2522 โดยรายงานระบุว่า มูลค่าการส่งออกร่วงลง 6.5% จากปีก่อนหน้า สู่ระดับ 5.150 ล้านล้าน
เยน ขณะที่การนำเข้าหดตัว 1.6% สู่ระดับ 5.699 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ การส่งออกของญี่ปุ่นในช่วง 
10 เดือนแรกของปีนี้มีมูลค่ารวม 53.5 ล้านล้านเยน หรือลดลง 2.3% จากช่วงเดียวกันของปีที่
ผ่านมา

เกาหลีใต้
 รัฐบาลเกาหลีเปิดเผยข้อมูลว่า ยอดค้าปลีกของร้านขายสินค้าจากโรงงานและห้าง
สรรพสินค้าขนาดใหญ่ของเกาหลีใต้ ปรับตัวลดลงเนื่องจากผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในการจับ
จ่ายใช้สอย ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาทั่วโลก ทั้งนี้ ยอดการจำหน่ายสินค้าโดยรวม
ของบริษัทขายของลดราคาชั้นนำ 3 แห่ง ได้แก่ อีมาร์ท (E-Mart) ล็อตเต้ มาร์ท (Lotte Mart) 
และ โฮมพลัส (Homeplus) ร่วงลง 6.6% ในช่วงตุลาคมปีนี้ ตรงข้ามกับเดือนกันยายนซึ่งเพิ่ม
ขึ้น 0.2%
 ธนาคารกลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ยอดหนี้สินต่างประเทศของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นแตะ 
4.194 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้น 3.6 พันล้านดอลลาร์จากช่วง 3 เดือนก่อนหน้า
นั้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงินกู้ระยะยาวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น
ไทย
 คณะทำงานตรวจสอบพฤติกรรมการเสนอราคาของผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาต
คลื่นความถี่ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ์ หรือ ประมูล 3G เปิดเผยว่า ที่ประชุมจะทำการสรุปผลการจรวจ
สอบเบื้องต้น ภายหลังจากที่คณะทำงานได้รับการชี้แจงจาก 3 ส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการประ
มูล 3G โดยส่วนแรก คือ 3 บริษัทที่ผ่านการประมูล ประกอบด้วย  บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ท
เวอร์ค, บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค และบริษัทเรียล ฟิวเจอร์ ในเครือบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น รวมถึง
ฐานะบริษัทที่ไม่ผ่านเงื่อนไขการเข้าประมูล คือ บริษัท ทานตะวัน เทเลคอมมูนิเคชั่น ขณะที่ส่วน
ที่ 2 คือการชี้แจงของ 9 จาก 13 บริษัทที่เข้ามารับเอกสารคำขอเข้าร่วมการประมูล 3G ระหว่าง
วันที่ 29 สิงหาคม-27 กันยายน 2555 แต่สุดท้ายกลับตัดสินใจไม่มายื่นคำขอเข้าร่วมประมูล 
3G ส่วนสุดท้ายคือข้อมูลจากพนักงานและเจ้าหน้าที่ของ กสทช. ที่เกี่ยวข้องกับการประมูลเมื่อวัน
ที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งเบื้องต้นยังไม่พบว่ามีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางว่าจะมีการทุจริตเกิด
ขึ้น พร้อมระบุว่า คณะทำงานจะทำเรื่องเสนอต่อ สำนักงาน กสทช. เพื่อขอขยายระยะเวลาการทำ
งานเพิ่มเติมจากเดิมที่จะครบกำหนดในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ เนื่องจากจำเป็นต้องจัดทำ
รายงานสรุปผลการตรวจสอบอย่างเป็นทางการ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและนำเสนอต่อ สำนักงาน 
กสทช. และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม หรือ กทค. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาออก
ใบอนุญาตให้กับผู้ผ่านการประมูลได้ภายในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้
          - ตลาดสหรัฐฯ เมื่อวันพุธ (21 พ.ย.) ตลาดหุ้นสหรัฐปิดปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยดัชนี 
S&P 500 บวกขึ้นเป็นวันที่ 4 ติดต่อกัน แม้การซื้อขายอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดในปีนี้ก่อนวันขอบคุณ
พระเจ้า โดยปริมาณการซื้อขายอยู่ราว 4.6 พันล้านหุ้นในตลาดหุ้นนิวยอร์ค, ตลาดหุ้นอเมริกัน 
(American Stock Exchange) และตลาด Nasdaq ซึ่งต่ำกว่าปริมาณเฉลี่ยต่อวันของปีนี้ที่
ประมาณ 6.5 พันล้านหุ้น ทั้งนี้ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 48.38 จุดหรือ 0.38% 
สู่ 12,836.89, ดัชนี S&P 500 ปิดเพิ่มขึ้น 3.22 จุด หรือ 0.23% สู่ 1,391.03 และดัชนี 
Nasdaq ปิดปรับตัวขึ้น 9.87 จุด หรือ 0.34% สู่ 2,926.55
           - ตลาดหุ้นเอเชีย เมื่อวันพุธ (21 พ.ย.)  ตลาดหุ้นเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดย
ตลาดหุ้นโตเกียวปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน หลังหุ้นกลุ่มส่งออกพุ่งขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีนิ
กเกอิปิดตลาดพุ่งขึ้น 79.88 จุด หรือ 0.87% สู่ 9,222.52 ด้านตลาดหุ้นฮ่องกงทำสถิติปิดพุ่งขึ้น
มากที่สุดภายในวันเดียวในรอบกว่า 2 เดือน โดยได้แรงหนุนจากการดีดตัวขึ้นของตลาดหุ้นจีน 
ขณะที่หุ้นไชน่า โมบายเป็นหุ้นที่หนุนดัชนีฮั่งเส็งมากที่สุด ทั้งนี้ ดัชนีฮั่งเส็งปิดพุ่งขึ้น 296.08 จุด 
หรือ 1.39% สู่ระดับ 21,524.36 ซึ่งเป็นการทะยานขึ้นมากที่สุดภายในวันเดียวนับตั้งแต่วันที่ 
14 ก.ย.
           - ตลาดหุ้นไทย เมื่อวันพุธ (21 พ.ย.)ดัชนีหุ้นไทยปิดทรงตัว หลังร่วงลงในช่วงเช้า ขณะ
ที่ตลาดมีความคาดหวังเชิงบวกว่าจะไม่มีการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลในวันเสาร์นี้ ทำให้มีแรงซื้อ
กลับเข้ามาในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และธนาคาร ช่วยประคองภาพรวมการลงทุน แต่ความกังวลต่อ
ปัญหาหนี้ของกรีซ และปัญหาภาวะหน้าผาการคลัง(fiscal cliff) ของสหรัฐ ยังถ่วงการลงทุน ทั้งนี้ 
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ปิดลบ 0.02 จุด มาที่ 1,276.39 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย 22,620.03 ล้าน
บาท